กิจกรรม 8-12 พฤศจิกายน 2553























ข้อ 1 ตอบ ข้อ 3. สัตว์เท่านั้น
อธิบาย
- ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) (Deoxyribonucleic acid) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น
-ไรโบโซม (Ribosome )เป็นออร์แกแนลล์ที่ประกอบด้วยโปรตีนและ rRNA ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด
- เยื่อหุ้มเซลล์ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ
ที่อยู่ภายในเซลล์ แบ่งแยกขอบเขตของเซลล์จากสิ่งแวดล้อม และควบคุม
การลำเลียงของสารเข้าและออกจากเซลล์
- เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก
- ไมโทคอนเดรีย ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก
เซลล์ที่มีไมโทคอนเดรียมากคือ เซลล์ตับ ภายในไมโทรคอนเดรียยังมี DNA รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็น DNA ที่มาจากแม่โดยตรง ส่วน DNA ที่อยู่ในนิวเคลียสนั้น จะเป็นที่ DNA ที่รวมจากพ่อและแม่


ข้อ 2 ตอบ ข้อ 4.การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
อธิบาย
- หน่วยไต (Nephron) แต่ละหน่วยเป็นท่อ มีปลายข้างหนึ่งเป็นกระเปาะที่ ประกอบด้วยเยื่อบาง ๆ สองชั้น คือ โบวแมนส์แคปซูล (Bowman’s Capsule) ภายในโบวแมนส์แคปซูล จะมีกลุ่มเส้นเลือดฝอย เรียกว่า โกลเมอรูลัส (Glomerulus) โบวแมนส์ แคปซูล อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ ท่อส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นของเมดุลลา ท่อที่ติดต่อกับโบวแมนส์ แคปซูล ทำหน้าที่ดูดน้ำและสารที่ร่างกายกลับคืนการกรองจะเกิดขึ้นที่โกลเมอรูลัส โดยผนังเส้นเลือดฝอยทำหน้าที่เป็นเยื่อกรองการลำเลียงน้ำหรือสารอาหารต่าง ๆ เข้าออกจากเซลล์
- การลำเลียงแบบใช้พลังงาน อาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่แตกต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานเป็นตัวพา เรียกว่า ATP เพื่อเป็นแรงผลักในการลำเลียง ซึ่งทิศทางตรงข้ามกับการแพร่
- การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ เป็นการนำการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ ที่เกิดขึ้นโดยมีโปรตีนเป็นตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ถูกลำเลียงเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีนี้จะต้องมีความจำเพาะในการจับกับโปรตีนตัวรับที่อยุ่บนเยื่อหุ้มเซลล์จึงจะสามารถนำเข้าสู่เซลล์ได้ หลังจากนั้นเยื่อหุ้มเซลล์จึงเว้าเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าสู่ภายในเซลล์

ข้อ 3 ตอบ ข้อ 2.การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง
อธิบาย
วาโซเพรสซิน (vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว และลดการหลั่งปัสสาวะเรียกชื่อย่อว่า ADH
ร้อยละ 70 ของสารในร่างกายคือน้ำ แม้ว่าเราจะดื่มน้ำวันละมากๆ หรือเสียเหงื่อในวันที่มีอากาศร้อนมากๆ แต่ความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกายยังปกติ นอกจากการทำงานของไตแล้ว ฮอร์โมนที่สำคัญที่ควบคุมให้ร่างกายมีสารน้ำปกติคือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone)

ข้อ 4 ตอบ ข้อ 3.ไม่เป็นกรด เพราะเลือดมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์

ข้อ 5 ตอบ ข้อ 1.การเผาทำลายพืช
อธิบาย
เชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่รักษาได้ยากมากส่วนใหญ่มักจะตัดส่วนที่เป็นโรคหรืออาจทำลายทั้งต้น โดยการเผาก็ได้ อาการที่พบอยู่บ่อย ๆ คือ
อาการที่ใบและลำต้น จะมีจุดเขียวคล้ำ ใบหงิกงอหรือใบด่าง มีผลทำให้เนื้อเยื่อในส่วนที่ถูกทำลาย ค่อย ๆ ตายลงที่ละน้อย การเข้าสู่พืชของเชื้อไวรัส จะอาศัย
แมลงปากดูด เพลี้ยต่างๆ หรือบางครั้งอาจติดมากับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้งานก็ได้

เชื้อแบคทีเรีย โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนี้ การรักษาส่วนมากมักจะไม่ทันการณ์ เพราะเชื้อจะแพร่เข้าไปตามท่อน้ำและท่ออาหารของพืช ทำให้มีผลต่อทุกส่วน
ของพืช การหาทางป้องกันดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการสร้างสภาวะให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและควรทำลายต้นพืชที่ได้รับเชื้อเข้าไป โดยการ
เผาทำลายทั้งต้น อย่าทำลายเพียงเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด

ข้อ 6 ตอบ ข้อ 4. แอนติบอดี
อธิบาย
แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส
แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen

ข้อ 7 ตอบ ข้อ 2.น้ำเชื่อม
อธิบาย

1. เซลล์มีรูปร่างลักษณะต่างๆกัน โดยเซลล์พืชทั่วไปจะเป็นรูปเหลี่ยม ส่วนเซลล์สัตว์รูปร่างไม่เป็นเหลี่ยมชัดเจนเหมือนเซลล์พืช
2. เซลล์พืชมีส่วนประกอบเรียงจากด้านนอกเข้าหาด้านใน คือ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์
ไซโตพลาสซึม และนิวเคลียส และในเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์สาหร่ายหางกระรอก พบเม็ดสีเขียวจำนวนมากเรียกว่า คลอโรพลาสต์ลอยอยู่ในไซโตพลาสซึม เซลล์สัตว์มีส่วนประกอบเหมือนกับเซลล์พืช คือ นิวเคลียส ไซโตพลาสซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ แต่ไม่มีผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์
3.เซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะแตกต่างกัน โดยเซลล์พืชจะมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมชัดเจน แต่เซลล์สัตว์จะมีรูปร่างแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ของเซลล์

ข้อ 8 ตอบ ข้อ 4.ไนโตรเจนเบสชนิดกวานีนและไซโทซีนจะจับคู่กันด้วย
พันธะคู่เสมอ

ข้อ 9 ตอบ ข้อ 3. 1/8
อธิบาย
กรุ๊ปA มีลักษณะทางโคโมโซม(จีโนไทป์) AA หรือ AO
กรุ๊ปB มีลักษณะทางโคโมโซม(จีโนไทป์) BB หรือ BO
กรุ๊ปAB มีลักษณะทางโคโมโซม(จีโนไทป์) AB
กรุ๊ปO มีลักษณะทางโคโมโซม(จีโนไทป์) OO
ดังนั้นถ้าพ่อกรุ๊ปเลือด O ก็จะมีจีโนไทป์เป็น OO
แม่กรุ๊ปเลือด A ก็จะมีจีโนไทป์เป็น AA หรือ AO โอกาสก็จะมี 1 ใน 8

ข้อ 10 ตอบ ข้อ 4.ผู้ที่ได้รับแอลลีลผิดปกติจากพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียว
มีโอกาสเป็นโรคได้
อธิบาย
ลักษณะตาบอดสี เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนด้อย กำหนดให้ c แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาบอดสี และ C แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาปกติยีนคู่นี้อยู่บนโครโมโซม X ดังนั้นสัญลักษณ์แทนยีนจึงเขียนเป็น Xc และ XC สำหรับจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี